คอขวดของการผลิต (Bottle neck)
โดย อ.ธวัชชัย สุวรรณบุตรวิภา
Production Line Balancing
กลยุทธ์การจัดสมดุลสายการผลิตให้มีประสิทธิภาพ
จากรูปที่ 1 หาก สถานีทำงานใด มี Cycle time มากสุด จุดนั้นจะเป็น คอขวด และเป็นตัวกำหนด กำลัง
การผลิต ของสายการผลิตนี้ เราจะใช้ จุดนี้จุดเดียวในการคำนวณ ทำไมจึงใช้ สถานีที่ 4 เพียงสถานีเดียว
คำนวณ ก็เพราะว่า เป็นสถานีทำงานที่ใช้เวลานานสุด แม้สถานีก่อนหน้า หรือ ตามหลังสถานี นี้ก็ตาม จะต้อง
รอให้สถานี นี้เสร็จเสียก่อน ดังนั้น Out put จึงขึ้นอยู่กับจุดนี้
Total Cycle Time
Total cycle Time คือ เวลารวมทั้งหมดของ Cycle time แต่ละสถานี หมายความว่า ชิ้นงานชิ้นนี้ จะ
ใช้เวลาในการทำทั้งหมด 4.6 นาที และจะนำเวลานี้ ไปคำนวณหาต้นทุน การผลิตต่อชิ้น แต่อย่าไปจำสับสน
กับ Cycle time นะครับ หากมีใครถามว่า สายการผลิตนี้มี Cycle Time เท่าไหร่ก็ตอบว่า 1.5 นาที
หมายความว่า ทุกๆ 1.5 นาที จะมีงานออกจากสายการผลิตนี้ จากรูปที่ 1 นั้นเป็นสายการประกอบที่
ต่อเนื่องกัน จึงใช้การคำนวณแบบนี้ หากสายการผลิตของคุณ แยกอิสระกัน ก็คิดแบบแยกกัน
จังหวะความต้องการของลูกค้า (Takt time)
จังหวะความต้องการของลูกค้า นั้นเป็นสิ่งสำคัญ เพราะ เป็นตัวกำหนดว่า ลูกค้าต้องการ สินค้า ที่กี่นาที
ต่อชิ้น จุดมุ่งหมายนี้ก็เพื่อ กำจัดสินค้าคลังออกจากคลังสินค้า หมายถึง ทำเสร็จก็พร้อมส่งทันที โดยมีสูตร
ดังนี้
Takt Time = Avariable time / Customer Demand
ตัวอย่าง ลูกค้าต้องการสินค้า 10,000 ชิ้น/เดือน โดยเรามี เวลาทำการผลิต 8 ชั่วโมงต่อวัน เวลาเบรคเช้า
และเย็น รวมแล้ว 30 นาที ดังนั้น
Takt time = [(8 ชม.x 60 นาที)-30 นาที]x 22 วัน /10,000 ชิ้นต่อเดือน
เท่ากับ 1 นาทีต่อชิ้น นี่คือจังหวะที่ ลูกค้าต้องการ เราจะถือว่า สิ่งนี้คือเป้าหมาย ดังนั้น เราจะต้องทำให้ cycle
time ของเรา เท่ากับ 0.9xTakt time = 0.9 นาที ทำไมผมจึงใช้ 0.9 x Takt time ก็เพราะว่า เราจะต้องทำ
ให้ จังหวะการผลิตของเรา (Cycle time) น้อยกว่าของลูกค้า 10% เพื่อที่จะผลิตให้ทัน และ เผื่อการ Break
down ต่างๆ โดย Michel Baudin กำหนดว่า จะต้อง บวกลบ 5%
แต่ในกรณีนี้ ผมเห็นว่า ความน่าเชื่อถือ
(Reliability) ของเครื่องจักร จะต้องอยู่ใน
เกณฑ์ที่ดี จึงจะเหมาะสมในการใช้ตัวเลขนี้
โดยทั่วไป 10% ถือว่าเหมาะสม หาก
เครื่องจักรของคุณมีความน่าเชื่อถือต่ำ ควร
รีบทำ TPM โดยด่วน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น