วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

lean manufacturing


การยกและการเคลื่อนย้ายสิ่งของ

การยกและการเคลื่อนย้ายสิ่งของ

การวางแผนในการยกของ     ตามกฎหมายความปลอดภัยของไทย จะเห็นได้ว่ามีเพียงกฎกระทรวงที่ออกโดยกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดอัตราน้ำหนักที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานได้ ที่ออกเมื่อปี 2547 นั้น ในกฎหมายมิได้มีการกำหนดท่าทางการยกของที่ถูกต้อง เพียงแต่กำหนดอัตราน้ำหนักในการยกเท่านั้น โดยกำหนดไว้ดังนี้

     ให้นายจ้างใช้ลูกจ้างทำงานยก แบก หาม หาบ ทูน ลาก หรือเข็นของหนักไม่เกินอัตราน้ำหนักโดยเฉลี่ยต่อลูกจ้างหนึ่งคน ดังต่อไปนี้
          1. ยี่สิบกิโลกรัมสำหรับลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กหญิงอายุตั้งแต่สิบห้าปีแต่ยังไม่ถึงสิบแปดปี
          2. ยี่สิบห้ากิโลกรัมสำหรับลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กชายอายุตั้งแต่สิบห้าปีแต่ยังไม่ถึงสิบแปดปี
          3. ยี่สิบห้ากิโลกรัมสำหรับลูกจ้างซึ่งเป็นหญิง
          4. ห้าสิบห้ากิโลกรัมสำหรับลูกจ้างซึ่งเป็นชาย

     ในกรณีของหนักเกินอัตราน้ำหนักที่กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีและให้ลูกจ้างใช้เครื่องทุนแรงที่เหมาะสม และไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้าง
ดังนั้นในการยกของนั้นเราจึงต้องมีการวางแผน และเรียนรู้ท่าทางที่ถูกต้องในการยกของ เพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นได้ เช่น
          1. อาการปวดหลังทั้งเฉียบพลัน และเรื้อรัง
          2. โรคกระดูกทับเส้นประสาท
          3. เข่าเสื่อม
          4. มือชา เนื่องจากเส้นเลือดและเส้นประสาทถูกกดทับ
          5. ไส้เลื่อน
     หลักการทั่วไปในการวางแผนการยกของ เพื่อเตรียมตัวพร้อมก่อนยก มีดังต่อไปนี้
          1. ต้องประเมินน้ำหนักของวัสดุสิ่งของ ว่าจะยกตามลำพังเพียงคนเดียวได้หรือไม่
          2. ถ้าไม่สามารถยกได้ต้องหาคนช่วยยก ไม่ควรพยายามยกเคลื่อนย้ายวัสดุสิ่งของที่หนักมากโดยลำพัง
          3. ตรวจสภาพบริเวณที่จะยกโดยรอบ เช่น ต้องไม่มีสิ่งกีดขวางทาง มีเนื้อที่ว่างมากพอในการยกเคลื่อนย้าย พื้นจะต้องไม่ลื่น และมีแสงสว่างเพียงพอ เป็นต้น
          4. ควรใช้เครื่องทุ่นแรงที่เหมาะสม เพื่อลดการใช้กำลังแรงงานคน
          5. จัดวางตำแหน่งวัสดุสิ่งของที่จะยก ไม่สูงเกินกว่าระดับไหล่
          6. การทำงานกับวัสดุสิ่งของที่มีน้ำหนักต่างๆ กัน เมื่อยกของที่หนักแล้วให้สลับมายกของเบาเพื่อพักกล้ามเนื้อ และเพื่อช่วยลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อ
          7. ควรใช้ถุงมือ เพื่อป้องกันการถลอก ขูดขีด และการถูกบาดจากของมีคม และสวมใส่รองเท้านิรภัยเพื่อป้องกันการลื่นไถล และป้องกันการบาดเจ็บจากวัสดุสิ่งของหล่นทับ

การยกของที่ถูกวีธี

     แบ่งเป็น การยกสิ่งของคนเดียว และการยกสิ่งของด้วยคนสองคน
การยกวัสดุสิ่งของคนเดียว โดยวัสดุอยู่ในระดับพื้น
     1. ยืนชิดวัสดุสิ่งของ วางเท้าให้ถูกต้องและมีความมั่นคง เพื่อป้องกันการเสียสมดุลของร่างกาย
     2. ย่อเข่าให้หลังเป็นแนวตรง เพื่อรักษาสภาพความโค้งของกระดูกสันหลังให้เป็นแนวตรง หรือเป็นไปตามธรรมชาติ เพื่อให้แรงกดลงบนหมอนรองกระดูกสันหลังมีการกระจายตัวเท่าๆ กัน
     3. จับวัสดุสิ่งของให้มั่นคงโดยใช้ฝ่ามือจับ เพื่อป้องกันการลื่นหลุดมือ และหากเป็นไปได้ ควรมีที่จับหรือหูจับ เพื่อทำให้จับได้ถนัดและง่ายขึ้น
     4. ควรให้แขนชิดลำตัว ไม่ควรกางแขนออก และให้วัสดุสิ่งของที่จะยกอยู่ชิดกับลำตัวให้มากที่สุด เพื่อให้น้ำหนักของวัสดุสิ่งของผ่านลงที่ต้นขาทั้งสองข้าง
     5. ควรให้ตำแหน่งของศีรษะสัมพันธ์กับร่างกาย โดยให้ศีรษะและกระดูกสันหลังอยู่ในแนวเดียวกัน คืออยู่ในแนวตรง ซึ่งจะทำให้มองเห็นทางเดินได้ชัดเจนในขณะที่ยกขึ้นและเดิน
     6. ค่อยๆ ยืดเข่า เพื่อยืนขึ้นโดยใช้กำลังจากกล้ามเนื้อขา สะโพก ไหล่ และต้นแขน ในขณะที่ยืนขึ้น หลังจะอยู่ในแนวตรงหรือเป็นไปตามธรรมชาติ

การยกสิ่งของด้วยคนสองคน
     เป็นลักษณะการช่วยยกวัสดุสิ่งของหนึ่งชิ้นด้วยคนจำนวนสองคน โดยยกที่ด้านหัวและด้านท้ายของวัสดุสิ่งของ ซึ่งใช้ท่าทางการยกรูปแบบเดียวกับการยกคนเดียว ในการยกเคลื่อนย้าย ควรยกขึ้นพร้อมกัน อาจใช้วิธีนับหนึ่ง สอง สาม แล้วยก เป็นต้น และควรใช้ความเร็วในการยกเท่ากัน ในกรณีที่น้ำหนักด้านหัวและด้านท้ายของวัสดุสิ่งของไม่เท่ากัน และต้องยกหลายครั้ง ผู้ยกทั้งสองควรสลับด้านกัน โดยมีขั้นตอนดังนี้
     1. ยืนชิดวัสดุสิ่งของ วางเท้าให้ถูกต้องและมีความมั่นคงเพื่อป้องกันการเยสมดุลของร่างกาย
     2. ย่อเข่าให้หลังเป็นแนวตรง เพื่อรักษาสภาพความโค้งของกระดูกสันหลังให้เป็นแนวตรง หรือเป็นไปตามธรรมชาติ เพื่อให้แรงกดลงบนหมอนรองกระดูกสันหลังมีการกระจายตัวเท่ากัน
     3. จับวัสดุสิ่งของให้มั่นคงโดยใช้ฝ่ามือจับ เพื่อป้องกันการลื่นหลุดมือ และหากเป็นไปได้ควรมีที่จับหรือหูจับ เพื่อทำให้จับได้ถนัดและง่ายขึ้น
     4. ควรให้แขนชิดลำตัว ไม่ควรกางแขนออก และให้วัสดุสิ่งของที่จะยกอยู่ชิดกับลำตัวให้มากที่สุด เพื่อให้น้ำหนักของวัสดุสิ่งของผ่านลงที่ต้นขาทั้งสองข้าง
     5. ควรให้ตำแหน่งของศีรษะสัมพันธ์กับร่างกาย โดยให้ศีรษะและกระดูกสันหลังอยู่ในแนวเดียวกัน คือ อยู่ในแนวตรง ซึ่งจะทำให้มองเห็นทางเดินได้ชัดเจนในขณะที่ยกขึ้นและเดิน
     6. ค่อยๆ ยืดเข่าเพื่อยืนขึ้น โดยใช้กำลังจากกล้ามเนื้อขา และขณะที่ยกขึ้น หลังจะอยู่ในแนวตรงหรือเป็นไปตามธรรมชาติ

ข้อควรรู้ในการยกของ

     1. ในขณะยกของ ควรเคลื่อนไหวทั้งตัว ไม่ควรเอี้ยวคอ หลัง หรือเอว ให้จมูกตรงตั้งฉาก หน้ามองตรงไปข้างหน้า โดยเฉพาะเวลายกของหนัก ในกรณีที่จะหมุนตัวให้ใช้วิธีหมุนข้อเท้าแทน
     2. อย่าเอื้อมหยิบของในที่สูง โดยฉพาะของที่มีน้ำหนักมาก หากจำเป็นต้องยก หรือ เคลื่อนย้ายสิ่งของในที่สูงให้ใช้บันไดหรือโต๊ะต่อเพิ่มความสูงจากพื้น ช่วยในการยกของ เพื่อให้ของที่จะหยิบอยู่ในระดับสายตา ไม่ควรเขย่งหรือเงยหน้าเต็มที่ เอื้อมจนสุดแขน เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อล้าร่างกายเสียความมั่นคง และก่อให้เกิดอันตรายกับหลังได้ ควรใช้วิธีผลักหรือลาก มากกว่าดึงเข้ามาหาตัว
     3. หากยกสองคน ควรเลือกคู่ยกที่ขนาดตัวใกล้เคียงกัน และยกของให้ขนานกับพื้น เพื่อป้องกันคนใดคนหนึ่งรับน้ำหนักที่มากเกินควร จะทำให้เกิดการบาดเจ็บตามมาได้
     4. ในการยกของ พยายามให้ของชิดลำตัวมากที่สุด โดยที่หลังยังตรงอยู่ เพื่อรักษาอาการบาดเจ็บที่จะเกิดขึ้นกับกระดูกสันหลัง
     5. เมื่อยกของซ้ำๆกัน ควรใส่เฝือกหรืออุปกรณ์พยุงเอวเวลายก
     6. ควรยกของขึ้นมาให้สูงระดับเอวหรือข้อศอกห้ามยกของหนักเกินกว่าระดับหน้าอก

การบริหารร่างกาย

     เพื่อทำให้กล้ามเนื้อหลังและกล้ามเนื้อหน้าท้องแข็งแรง ช่วยลดอัตราการเกิดการปวดหลังได้อย่างดี

ท่าที่ 1 นอนหงายชันเข่า 2 ข้าง แขนแนบข้างลำตัว จังหวะที่ 1 เกร็งกล้ามเนื้อท้องเพื่อกดหลังให้แนบกับพื้น นับ 1-3 ช้า ๆ จังหวะที่ 2 คลายกล้ามเนื้อปล่อยพักตามสบาย ทำ 5-6 ครั้งในวันแรกแล้วเพิ่มขึ้นในวันต่อไป


ท่าที่ 2 นอนหงายชันเข่า 2 ข้าง ผงกศีรษะค้างไว้นับ 1-2 แล้วเอาลงเริ่มทำครั้งแรก 10 ครั้ง แล้วค่อยเพิ่มจนถึง 25 ครั้งในวันต่อไป


ท่าที่ 3 นอนหงายเหยียดขาทั้ง 2 ข้าง ยกขาข้างหนึ่งให้ตั้งฉากกับลำตัว โดยเข่าไม่งอ แล้วค่อย ๆ เอาลง จากนั้นยกอีกข้างหนึ่งสลับกัน เมื่อเอาลงแล้วยกพร้อมกันทั้ง 2 ข้าง อีกครั้งหนึ่งเริ่มทำ 3 ครั้งแล้วค่อยเพิ่มให้ถึง 10 ครั้ง



ท่าที่ 4 นอนคว่ำขาเหยียดตรงแล้วยกขาข้างหนึ่งขึ้นค้างไว้ นับ 1-3 จึงวางลงสลับกับยกขาอีกข้างหนึ่ง ทำเหมือนกันโดยที่เข่าไม่งอขณะยกขา ทำ 5 ครั้งต่อไปค่อยเพิ่มขึ้น


ท่าที่ 5 ยืนหลังตรง งอเข่างอสะโพกลงนั่งให้ชิดพื้นมากที่สุดโดยหลังไม่งอเลย เริ่มทำ 3 ครั้ง เพิ่มขึ้นจน 10 ครั้งวันต่อไป


ท่าที่ 6 นั่งหลังตรง ขาข้างหนึ่งเหยียดยาวเข่าตรง ขาอีกข้างงอขึ้นมาตั้งไว้ เริ่มทำโดยเหยียดแขนทั้งคู่ แล้วโน้มตัวไปข้างหน้าให้ไกลที่สุดจนรู้สึกตึงที่หลังขาข้างที่เหยียด นับ 1-3 จึงค่อยเอนหลังกลับท่าเดิม ทำ 5-6 ครั้ง ต่อไปเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ


ท่าที่ 7 นอนหงายงอเข่าขึ้นตั้งไว้ 2 ข้าง มือประสานไว้ตรงเข่า จากนั้นดึงขาเข้ามาชิดอกพร้อมกับยกศีรษะขึ้นด้วย นับ 1-3 แล้วกลับไปอยู่ท่าเดิม


ท่าที่ 8 นอนหงายงอเข่าขึ้นตั้งไว้ จังหวะที่ 1 เกร็งกล้ามเนื้อท้องไว้หลังติดพื้น จังหวะที่สองยกก้นให้ลอดขึ้นพ้นพื้นในเวลาเดียวกัน นับ 1-3 ค่อยกลับมาอยู่ในท่าเดิม


ท่าที่ 9 ยืนตรงมือทั้ง 2 เหยียดยันกำแพงไว้ เท้าทั้ง 2 ห่างจากกำแพงครึ่งเมตร จังหวะที่ 1 โน้มตัวไปข้างหน้า ขณะที่ตัวตรงอยู่ ส้นเท้ายังคงแตะอยู่ที่พื้นเช่นเดิม 1-3 จากนั้นค่อยดันตัวกลับมายืนท่าเดิม


เอกสารอ้างอิง
1. http://www.i-medipro.com
2 http://www.thaiwoodcentral.com
3. http://oshthai.labour.go.th

การลดต้นทุนที่ทุกคนมีส่วนร่วม

บริษัทอยู่รอดได้ ก็เพราะมีกำไร บริษัทเจ๊ง ก็เพราะขาดทุน แน่นอนครับคงไม่มีใครอยากให้บริษัท หรือสถานที่ทำงานอันเปรียบเสมือนหม้อข้าวของตนเองต้องแตกดังเพลาะ และยกเลิกกิจการไปเป็นแน่!!! เพราะการปิดกิจการนั่นคือจุดเริ่มต้นของปัญหาอีกมากมายหลายประการ ไหนจะต้องส่งค่าบ้าน ค่ารถ ค่าเล่าเรียนลูก ค่ากิน ค่าใช้ อีกจิปาถะ พรรณากันไม่หวาดไม่ไหว สาเหตุหลักๆ ในการที่บริษัทต้องมีการลดต้นทุนนั่นก็เพราะ วิธีการนี้เป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดที่จะทำให้บริษัทได้กำไร เพราะถ้าหากจะไปหวังให้มีการจัดโปรโมชั่น ลด แลก แจก แถม นั้นก็ต้องใช้เงินอีกนั่นแหละ และใช้เวลาค่อนข้างมากเลยที่เดียว แต่สำหรับวิธีการลดต้นทุนการผลิตนั้นทำได้เลย สะดวก รวดเร็ว และไม่ต้องเสียเงิน เสียทอง  และเสียเวลาอะไรมากครับ เพื่อป้องกันปัญหาเหล่านั้นไม่ให้เกิดขึ้นเรามาหาทางช่วยกันสร้างกำไรให้กับบริษัทของเราด้วยวิธีการง่ายๆ ดังต่อไปนี่กันดีกว่า
ในการลดความสูญเปล่านั้นทำได้โดยวิเคราะห์หาว่าเรามีความสูญเปล่าอะไรบ้าง แล้วก็กำจัดมันออกไปเสีย ซึ่งโดยทั่วไปแล้วความสูญเปล่าแบ่ออกได้ เป็น 8 ประการครับ
1.   ความสูญเปล่าจากการผลิตมากเกินไป (Over Production) หมายถึงการผลิตสินค้าที่เกินความต้องการ ซึ่งอาจเกิดจากการปฏิบัติงานที่ผิดพลาด ขาดประสิทธิภาพ หรือเกิดจากการผลิตที่เผื่อเอาไว้มากเกินไป สำหรับแนวทางแก้ไข คือ วิเคราะห์หาจุดบกพร่องในการปฏิบัติงาน และปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพสูงขั้นในด้าน คน เครื่องจักร วัสดุอุปกรณ์ วิธีการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อม รวมไปถึง ควรปรับปรุงขั้นตอนการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
2.   ความสูญเปล่าจากการขนย้าย (Transportation)มักเกิดจากการกำหนดทิศทางในการไหลของงาน (Process Flow) ที่ไม่เหมาะสม อาจจไกลเกินไป ซึ่งต้องมีการขนย้ายสินค้าจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ซึ่งในที่นี้มีการขนย้าย ทั้งในแนวราบ และแนวดิ่ง ทำให้เสียเวลามาก และอาจส่งผลกระทบทำให้เกิดความเสียหายระหว่างที่มีการขนย้าย หรือเคลื่อนย้ายอีกด้วยครับ
3.   ความสูญเปล่าจากการเกิดของเสีย ต้องแก้ไขงาน (Defective) สาเหตุของปัญหานี้มีมากมาย ซึ่งต้นตอสำคัญคือการขาดการเตรียมความพร้อมของ 4M&1E (Men ,Machine ,Material ,Method Environment) และอาจรวมไปถึงการสื่อสาร การการควบคุมกระบวนการที่ขาดประสิทธิภาพอีกด้วยครับ สำหรับวิธีในการแก้ไข ก็ควรเตรียมความพร้อม ขอย้ำนะครับว่า ต้องพร้อมก่อนเริ่มลงมือปฏิบัติของ 4M&1E และต้องเข้าไปหมั่นติดตาม ตรวจสอบการปฏิบัติงานอยู่เสมอเพื่อหาจุดผิดปกติ จะได้รีบแก้ไขได้ทันเวลาครับ
4.   ความสูญเปล่าจากการมีสินค้าคงคลังมากเกินไป (Over Stock)การเก็บสินค้าคงคลังนั้นรวมวัตถุดิบ (Raw Material) สินค้าระหว่างกระบวนการผลิต (WIP:Work In Process) และสินค้าที่ผลิตสำเร็จแล้ว (Finish Good) สาเหตุของปัญหานี้โดยทั่วไปแล้วมีอยู่ด้วยกันสองสาเหตุ สาเหตุแรกก็เป็นผลมาจากการผลิตสินค้าที่มากจนเกินไป แล้วขายไม่ได้ ขายไม่ออก คิดดูนะครับ ถ้าเป็นสินค้าที่มีอายุจำกัด แล้วขายไม่ออก เมื่อถึงกำหนด หมดอายุ ต้องทิ้งไปก็น่าเสียดาย และน่าเสียใจ รวมทั้งน่าโมโหน่าดู ส่วนสาเหตุที่สองคือ การเผื่อเอาไว้ อุ่นใจดี มีทั้ง การเตรียมวัตถุดิบเผื่อเอาไว้ เผื่อพลาดจะได้ไม่มีปัญหา โดยเฉพาะวัตถุดิบที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ การกระทำเช่นนี้ เงินจม ต้นทุนจม แถมต้องมาเสียพื้นที่ เสียค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บ และเสี่ยงต่อการชำรุด เสียหาย และสูญหายอีกต่างหาก วิธีการแก้ก็คือ ควรนำระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี หรือ JIT (Just In Time) มาประยุกต์ใช้ครับ
5.   ความสูญเปล่าจากขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ขาดประสิทธิภาพ (Process) สาเหตุ มักเกิดจากการออกแบบการทำงานที่ไม่ดี ทำให้ขั้นตอนการปฏิบัติงานไม่เหมาะสม เช่นเกิดความซ้ำซ้อน ติดๆ ขัดๆ แล้วยังไม่ดีต้องนำมาปรับแต่งอีก ทำให้เสียเวลา และค่าใช้จ่าย รวมทั้งทำให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความยุ่งยาก หรืออาจเกิดจากการขาดมาตรฐานการปฏิบัติงานที่ไม่ดีพอ หรือตรงข้ามอาจมีมาตรฐานการปฏิบัติงานที่เข้มงวดเกินความจำเป็นก็ได้ สำหรับแนวทางในการแก้ไขคือ ควรออกแบบระบบการผลิตให้ดีตั้งแต่ตอนแรก และควรประยุกต์ใช้เครื่องมืออื่นๆ มาช่วยในการควบคุมกระบวรการ และคุณภาพสินค้า เช่น การใช้หลักสถิติ (Statistic) การใช้หลักของการของวิศวกรรมอุตสาหการ IE (Industrial Engineering) หรือ หลักการวิจัยดำเนินงานหรือ OR (Operation Research) เป็นต้น
6.   ความสูญเปล่าจากการรอคอยงาน (Waiting)ปัญหานี้เกิดขึ้นได้กับผู้ที่ปฏิบัติงานในสายการผลิตโดยตรง และแผนกที่สนับสนุน ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการรองานไม่มา ก็ไม่รู้จะทำอะไร เพราะเครื่องจักรเสีย แผนกก่อนหน้าไม่เอางานมาส่ง วัตถุดิบขาด Part ไม่มี รอเอกสาร รอโทรศัพท์ รอการตอบกลัย หรือไม่ก็ รอกันไป ก็รอกันมาก ไม่ลงมือทำกันเสียที สำหรับวิธีการแก้ไขปัญานี้ก็อาจทำได้โดย ควรมีการวางแผนงานให้เหมาะสม เพื่อลดเวลาการรอระหว่างกระบวนการ ควรจัดกระบวนการทำงานให้สมดุลย์ (Balance) จัดเครื่องมืออุปกรณ์ และวัตถุดิบให้พร้อมก่อนเริ่มงาน เพื่อลดการว่างงาน แต่ถ้าต้องรองานจริงๆ ก็ควรจัดพนักงานไปอบรม หรือไปทำงานในแผนกอื่นที่เขาพอทำได้ สุดท้ายก็อบรมให้เขามีทักษะในการทำงานได้หลายประเภท (Multi Skill) เพื่อจะได้ไม่ว่าง (เพราะถ้าพนักงานว่างปุ๊ป ผู้บริหารมักจะมองเห็นปั๊บ)
7.   ความสูญเปล่าจากการเคลื่อนไหวที่ไม่เกิดประโยชน์ (Motion) ปัญหานี้เกิดจากการออกแบบขั้นตอนวิธีในการปฏิบัติงานที่ไม่เหมาะสม เช่น ต้องเอื้อมไปหยิบของ ต้องก้มตัว ต้องหมุนมือ ขยับแขน ต้องยกของ เป็นต้น ทำแบบนี้นานๆ ผู้ปฏิบัติก็จะเกิดความเมื่อยล้า ทำให้เกิดความล่าช้า และปัญหาความผิดพลาด ก็มักจะเกิดขึ้นตามมา สำหรับวิธีการแก้ไข ควรนำแนวคิดการศึกษาการเคลื่อนไหว และการศึกษาเวลา (Motion and Time Study) เพื่อมาประยุกต์ใช้ ดูว่าจุดไหนที่เราควรปรับ ควรใช้เครื่องมือจับยึด (Jig หรือ Fixture) หรือควรปรับปรุง อุปกรณ์ประกอบการทำงาน เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ชั้นวางของ กล่องเก็บ Part หรือ ใช้อุปกรณ์แขวนเพื่อลดกันยก ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับผู้ปฏิบัติงานมากที่สุด เป็นต้น
8.   ความสูญเปล่าจากการไม่นำเอาความคิดสร้างสรรค์ของพนักงานมาใช้ให้เกิดประโยชน์ (Idea)อันนี้สำคัญมาก เพราะโลกปัจจุบันเราอยู่บนเศรษฐกิจฐานความรู้ หรือ (Creative Economy) จะสังเกตุได้ว่าบริษัทใหญ่ๆ ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง เขาจะให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก โดยมักจะใช้กิจกรรมไคเซ็น (Kaizen) กิจกรรมข้อเสนอแนะ (Suggestion) กิจกรรมกลุ่ม คิวซีซี (Quality Control Circle) เพื่อเปิดโอกาสให้พนักงานได้นำความคิดสร้างสรรค์ที่ตนเองมีเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหา ปรับปรุง พัฒนา และเสนอแนวคิดใหม่ๆ เพื่อพัฒนาตนเองและบริษัทให้ดีขั้น 

คอขวดของการผลิต (Bottle neck)

คอขวดของการผลิต (Bottle neck)
โดย อ.ธวัชชัย สุวรรณบุตรวิภา
Production Line Balancing
กลยุทธ์การจัดสมดุลสายการผลิตให้มีประสิทธิภาพ
จากรูปที่ 1 หาก สถานีทำงานใด มี Cycle time มากสุด จุดนั้นจะเป็น คอขวด และเป็นตัวกำหนด กำลัง
การผลิต ของสายการผลิตนี้ เราจะใช้ จุดนี้จุดเดียวในการคำนวณ ทำไมจึงใช้ สถานีที่ 4 เพียงสถานีเดียว
คำนวณ ก็เพราะว่า เป็นสถานีทำงานที่ใช้เวลานานสุด แม้สถานีก่อนหน้า หรือ ตามหลังสถานี นี้ก็ตาม จะต้อง
รอให้สถานี นี้เสร็จเสียก่อน ดังนั้น Out put จึงขึ้นอยู่กับจุดนี้
Total Cycle Time
Total cycle Time คือ เวลารวมทั้งหมดของ Cycle time แต่ละสถานี หมายความว่า ชิ้นงานชิ้นนี้ จะ
ใช้เวลาในการทำทั้งหมด 4.6 นาที และจะนำเวลานี้ ไปคำนวณหาต้นทุน การผลิตต่อชิ้น แต่อย่าไปจำสับสน
กับ Cycle time นะครับ หากมีใครถามว่า สายการผลิตนี้มี Cycle Time เท่าไหร่ก็ตอบว่า 1.5 นาที
หมายความว่า ทุกๆ 1.5 นาที จะมีงานออกจากสายการผลิตนี้ จากรูปที่ 1 นั้นเป็นสายการประกอบที่
ต่อเนื่องกัน จึงใช้การคำนวณแบบนี้ หากสายการผลิตของคุณ แยกอิสระกัน ก็คิดแบบแยกกัน
จังหวะความต้องการของลูกค้า (Takt time)
จังหวะความต้องการของลูกค้า นั้นเป็นสิ่งสำคัญ เพราะ เป็นตัวกำหนดว่า ลูกค้าต้องการ สินค้า ที่กี่นาที
ต่อชิ้น จุดมุ่งหมายนี้ก็เพื่อ กำจัดสินค้าคลังออกจากคลังสินค้า หมายถึง ทำเสร็จก็พร้อมส่งทันที โดยมีสูตร
ดังนี้
Takt Time = Avariable time / Customer Demand
ตัวอย่าง ลูกค้าต้องการสินค้า 10,000 ชิ้น/เดือน โดยเรามี เวลาทำการผลิต 8 ชั่วโมงต่อวัน เวลาเบรคเช้า
และเย็น รวมแล้ว 30 นาที ดังนั้น
Takt time = [(8 ชม.x 60 นาที)-30 นาที]x 22 วัน /10,000 ชิ้นต่อเดือน
เท่ากับ 1 นาทีต่อชิ้น นี่คือจังหวะที่ ลูกค้าต้องการ เราจะถือว่า สิ่งนี้คือเป้าหมาย ดังนั้น เราจะต้องทำให้ cycle
time ของเรา เท่ากับ 0.9xTakt time = 0.9 นาที ทำไมผมจึงใช้ 0.9 x Takt time ก็เพราะว่า เราจะต้องทำ
ให้ จังหวะการผลิตของเรา (Cycle time) น้อยกว่าของลูกค้า 10% เพื่อที่จะผลิตให้ทัน และ เผื่อการ Break
down ต่างๆ โดย Michel Baudin กำหนดว่า จะต้อง บวกลบ 5%
แต่ในกรณีนี้ ผมเห็นว่า ความน่าเชื่อถือ
(Reliability) ของเครื่องจักร จะต้องอยู่ใน
เกณฑ์ที่ดี จึงจะเหมาะสมในการใช้ตัวเลขนี้
โดยทั่วไป 10% ถือว่าเหมาะสม หาก
เครื่องจักรของคุณมีความน่าเชื่อถือต่ำ ควร
รีบทำ TPM โดยด่วน

เทคนิคที่ใช้ในการปรับปรุงงาน

IE (Industrial Engineering) คือ เทคนิคที่ใช้ในการปรับปรุงงาน ซึ่งรวมถึง การกำจัดของเสียในกระบวนการ ความไม่สม่ำเสมอ ของการผลิตและการทำงานที่ไม่ทำให้เกิดผลงาน โดยพยายามปรับปรุงให้การทำงานง่ายขึ้น สะดวกรวดเร็วขึ้น และประหยัด ค่าใช้จ่าย IE TECHNIQUES ที่ใช้ในการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตโดยทั่วไปจะเป็นเรื่องการบริหารการทำงาน (Work Management) โดยมีการศึกษาการทำงาน(Work Study) ซึ่งจะประกอบ ไปด้วยเทคนิคการ ปรับปรุงงาน โดยการศึกษาวิธีการทำงาน (Method Study) และ เทคนิคการวัดผลงานโดยการศึกษาเวลา (Time Study) ขั้นตอนการศึกษาวิธีการทำงาน (Method study) และการวัดผลงาน (Work Measurement)
  1. เลือกงานที่จะทำการศึกษา (Select) เช่น งานที่มีปัญหาหรืองานใหม่ๆ
  2. บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับงานที่เลือก ( Record)
  3. ทำการตรวจสอบและวิเคราะห์อย่างละเอียด ( Examine)
  4. พัฒนาและกำหนดวิธีการใหม่ๆ ( Develop new method)
  5. วัดงานพร้อมทั้งคำนวณเวลามาตรฐานของงานโดยรวมเวลาเผื่อ เข้าไปด้วย เช่น เวลาทำธุระส่วนตัว (Measure Compile)
  6. กำหนดขอบเขตของงานให้ชัดเจนและเก็บข้อมูลไว้ (Define)
  7. นำไปใช้เมื่อได้ผลแล้วให้ รักษาสภาพไว้ ( Maintain)
การใช้เทคนิค IE ในการปรับปรุงการทำงาน

ขั้นที่ 1 กำหนดหัวข้อ ในการปรับปรุง (ควรเลือกหัวข้อที่มีความสำคัญก่อน)
ขั้นที่ 2 วิเคราะห์สภาพจริงอย่างเป็นระบบ ปริมาณ และบนพื้นฐานของ ความเป็นจริง
ขั้นที่ 3 ทดสอบผลโดยการวิเคราะห์
  • 5W1H ( What, Where, When, Who, Why and How)
  • ECRS ( Eliminate, Combine, Rearrange, Simplify)
ขั้นที่ 4 เตรียมกิจกรรม ในการทดลองปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง Kaizen
ขั้นที่ 5 ทำกิจกรรม Kaizen ต่อเนื่องไป จนกว่าจะประสบความสำเร็จ
ขั้นที่ 6 จัดทำมาตรฐาน
ประโยชน์ของการศึกษาวิธีการทำงาน (Method study)
  1. เพื่อปรับปรุงกระบวนการและวิธีการทำงาน
  2. เพื่อปรับปรุงการปฏิบัติงาน วางแผนผังโรงงาน สถานที่ตั้งใน การทำงาน ตลอดจนแบบโรงงาน และเครื่องจักรเครื่องมือต่างๆ
  3. ลดความพยายามที่ไม่จำเป็นลง พร้อมทั้งขจัดความเมื่อยล้า
  4. ปรับปรุงการใช้เครื่องจักร วัสดุ และแรงงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ประโยชน์ของการวัดผลงาน ( Work Measurement)
  1. ใช้เปรียบเทียบประสิทธิภาพของวิธีการต่างๆ โดยพยายามเลือกวิธีทำงานที่ดีที่สุดและใช้เวลาน้อยที่สุด
  2. ใช้วัดความสมดุลย์ให้กับคนงาน ที่ทำงานเป็นกลุ่มโดยใช้แผนภูมิปฏิบัติงานทวีคูณ ( Multiple activity chart)
  3. ใช้วางแผนและจัดการผลิต รวมทั้งจัดกำลังคน และทรัพยากรต่างๆ เพื่อให้สามารถผลิตสินค้า ได้ตามปริมาณ ในเวลาที่กำหนด
  4. ใช้เป็นข้อมูลในการประมาณ ค่าใช้จ่าย ราคาขาย และกำหนดเวลา
  5. ใช้สร้างมาตรฐานการทำงานของคนและเครื่องจักร
  6. ใช้เป็นข้อมูลในการควบคุมค่าจ้างแรงงาน และใช้กำหนดค่าใช้จ่ายมาตรฐาน
ตัวอย่างการแบ่งประเภทงานก่อนทำการศึกษาการทำงาน
Operating work คือ กระบวนการทำงานหลักที่พนักงานต้องเข้าไปมีส่วนร่วมโดยตรงในการสร้างคุณค่า ( Value adding) ต่อการปฏิบัติงาน เช่น พนักงานกำลังกลึงชิ้นงาน Non-operating work คือการปฏิบัติงานในเวลางานของพนักงาน ซึ่งอาจเกี่ยวข้อง หรือไม่เกี่ยวข้องกับ งานหลัก แต่ไม่มีผลโดยตรงในการสร้างคุณค่าให้งาน แบ่งออกได้ดังนี้
  1. Accompanying work คือ การปฏิบัติงานของพนักงาน ที่มีผลต่อการสร้างคุณค่าทางอ้อมของงาน และ เกี่ยวข้องกับงานหลักโดยตรง เช่น การใส่วัตถุดิบ และนำชิ้นงานออกจากเครื่องจักร
  2. Preparation คือ การเตรียมงานก่อนการปฏิบัติงานจริง เช่น การตั้งค่าการทำงานให้เครื่องจักรก่อนเริ่มทำงาน
  3. Work allowance คือ การปฏิบัติงานบางอย่าง ที่เกิดขึ้นระหว่างการทำงานหลัก เช่น ตรวจสอบคุณภาพชิ้นงาน, ปรับตั้งเครื่องจักรระหว่างทำงาน
  4. Shop allowance คือ การปฏิบัติงานบางอย่าง ที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานหลัก แต่เกิดขึ้นเนื่องจากการ บริหารงานไม่ดี เช่น การค้นหาเครื่องมืออุปกรณ์, การรอขนย้ายวัตถุดิบและชิ้นงาน
  5. Personal allowance คือ เวลาเผื่อสำหรับพนักงานในการปฏิบัติธุระส่วนตัว เช่น เข้าห้องน้ำ, ทานน้ำ
  6. Non- work คือ การทำบางสิ่งบางอย่างด้วยเหตุผลส่วนตัวไม่เกี่ยวข้องกับงาน เช่น การหยอกล้อกันเล่น
ที่มา : http://www.thaifactory.com/
 

การลดต้นทุนการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ


 
การลดต้นทุนการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ          

การดำเนินธุรกิจจำเป็นต้องแสวงหากำไรสูงสุด เพื่อเป็นผลตอบแทนต่อการทำงาน และกำไรของธุรกิจที่สมเหตุสมผลนั้น ก็เป็นรางวัลที่สังคมมอบให้กับองค์กรธุรกิจเพื่อเป็นการตอบแทนที่องค์กรธุรกิจได้ปฏิบัติตามพันธกิจ และให้สิ่งที่ดีกับสังคม ซึ่งกลยุทธ์การลดต้นทุนการผลิต ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการเพิ่มผลกำไรขององค์กรธุรกิจ และเป็นกลยุทธ์ที่เน้นที่การสำรวจและแก้ไขจุดบกพร่องภายในองค์กรธุรกิจ ซึ่งกลยุทธ์นี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อความอยู่รอดขององค์กรธุรกิจในยุคที่เศรษฐกิจตกต่ำ และเพื่อการเพิ่มศักยภาพของการแข่งขันในยุคที่เศรษฐกิจรุ่งเรือง
     ซึ่งโดยปกติแล้วต้นทุนรวมจะประกอบด้วย ต้นทุนคงที่ประมาณ 20% ต้นทุนผันแปรประมาณ 80% ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วการลดต้นทุนที่ต้นทุนผันแปรจะลดได้ง่ายกว่าต้นทุนคงที่ ยกตัวอย่างเช่น
·        การเพิ่มราคาสินค้า ซึ่งจะทำให้ได้กำไรมากกว่าการลดต้นทุนการผลิตลง แต่ต้องระวัง
เรื่องกำลังซื้อของลูกค้าที่อาจจะลดลงได้
·        บริหารค่าล่วงเวลาให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งนิยมควบคุมค่าล่วงเวลาให้อยู่ในช่วงระหว่าง 7-15%
ของฐานเงินเดือน
·        ใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพพอดี ไม่เลือกใช้แต่วัตถุดิบที่มีคุณภาพดีเลิศ เพื่อให้ได้ราคาที่ถูก
กว่า ให้ลดของเสียจากวัตถุดิบที่ใช้ไม่ได้ เนื่องจากคุณภาพตกลักษณะเฉพาะ (Specification) ทั้งนี้จะต้องพิจารณาว่าไม่กระทบต่อคุณภาพสินค้าที่ส่งมอบลูกค้าตามที่ตกลงกัน ซึ่งการใช้วัตถุดิบราคาถูกกว่า ต้องศึกษาด้านเทคนิคก่อนในเรื่องของคุณภาพสินค้า และปริมาณที่จะนำมาทดแทน
·        การบริหารสินค้าคงคลังให้มีประสิทธิภาพ โดยไม่ให้มีสินค้าคงคลังในปริมาณที่มาก หรือใช้
ระบบ Just in Time    ซึ่งการบริหารสินค้าคงคลังต้องพิจารณาให้ดี ต้องหาระดับสินค้าคงคลังให้เหมาะสม และต้องพิจารณาผลกระทบด้วย เช่น ถ้ามีวัตถุดิบคงคลังในปริมาณที่น้อยเกินไป อาจทำให้ไม่มีคุณภาพเท่าที่ควร หรือเครื่องจักรหลักอาจต้องหยุดเดินหากวัตถุดิบมีปริมาณไม่เพียงพอ และหากสินค้าคงคลังมีปริมาณน้อยเกินไปอาจมีผลกระทบต่อการส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้า
·        ลดต้นทุนการขนส่ง โดยการเลือกเส้นทางการขนส่งที่สั้น ขนส่งได้ตลอดเวลา ลดการขน
ซ้ำซากหลายครั้ง ทำเส้นทางการขนส่งให้สะดวกไม่สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงหรือเปลืองยางรถยนต์ หรือการเปลี่ยนไปใช้ยานพาหนะที่ถูกกว่าโดยการเปรียบเทียบ เช่น ทางเรือ ทางรถยนต์ ทางรถไฟ ทางเครื่องบิน
·        ลดต้นทุนเชื้อเพลิง โดยพิจารณาที่ราคาเชื้อเพลิงต่อหน่วยความร้อนหรือต่อตัน ซึ่งควรเลือกที่
ราคาต่ำสุด เช่น การใช้ขยะอุตสาหกรรมเป็นวัตถุดิบหรือเชื้อเพลิง การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงทดแทน การใช้ถ่านหินแอนทราไซต์ทดแทนถ่านหิน การใช้ถ่านหินแทนน้ำมันเตา การใช้ Petroleum Coke แทนถ่านหิน เป็นต้น ซึ่งบางครั้งอาจต้องมีการปรับปรุงเครื่องจักร เพื่อให้สามารถใช้กับเชื้อเพลิงเหล่านั้นได้
·        ลดต้นทุนพลังงานไฟฟ้า โดยการปรับปรุงเครื่องจักรให้ใช้ไฟฟ้าลดลง เช่น ปรับปรุง
Separator จาก 110 KWH/t เป็น 101 KWH/t  โดยการศึกษาโครงสร้างค่าไฟฟ้าซึ่งมี Demand Charge และ Energy Charge ซึ่งต้องบริหารค่าไฟฟ้าตอน Peak และบริหารใช้งานเครื่องจักรตามเวลาที่ค่าไฟฟ้าถูก 
      ส่วนต้นทุนคงที่ที่มีสัดส่วนประมาณ 20% ของต้นทุนรวม สามารถลดต้นทุนค่าใช้จ่ายคงที่ ได้ดังตัวอย่างต่อไปนี้
·        เพิ่มเปอร์เซ็นต์การใช้งานเครื่องจักร (% Utility) ซึ่งในยุคเศรษฐกิจตกต่ำ มักจะมีการผลิต
ไม่เต็มสมรรถนะเครื่องจักร เช่น ผลิตที่ 50 % Utility หากหาช่องทางจำหน่ายสินค้าเพิ่มขึ้น จะทำให้สามารถขายสินค้าได้มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนโดยรวมลดต่ำลง ปรับปรุงเครื่องจักรให้มีการสูญเสียน้อย เช่น Pressure Loss วัตถุดิบตกหล่น ของเสียจากการผลิต หากจำนวนเครื่องจักรมีจำนวนมากกว่าเครื่องจักรที่ต้องใช้งาน สามารถบริหารจัดการ ได้ดังต่อไปนี้
-     พิจารณาหยุดเดินเครื่องจักรที่ไม่จำเป็น
-     เลือกใช้เครื่องจักรเครื่องที่มีประสิทธิภาพสูง  ต้นทุนเดินเครื่องจักรต่ำ
-     ใช้เครื่องจักรที่ใหม่กว่า ซ่อมน้อยมาเดินเครื่อง
-     ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ อาจจำเป็นต้องใช้อะไหล่จากเครื่องจักรสำรองเพื่อทดแทนการซื้ออะไหล่
-     พิจารณาขายเครื่องจักรส่วนเกิน พวกที่ไม่ประหยัด อย่าลืมว่าหากเศรษฐกิจดีขึ้น ช่วงกะ 1 จ่ายมาก ช่วงกะ 2 จ่ายมากที่สุด ช่วงกะ 3 จ่ายน้อยลง อย่างนี้ต้องจัดให้มีการเดินเครื่องจักรที่พอดี ไม่ใช่เดินจำนวนเครื่องจักรเท่ากันหมดทั้ง 3 กะ ทำให้เครื่องจักรเดินตัวเปล่ามาก ไม่เปลืองแรงงานผู้รับเหมาหรือพนักงาน
                  สามารถ ลดต้นทุนการซ่อมบำรุงเครื่องจักร โดย
-     การบำรุงรักษาตามสภาพ (Condition Base) ทดแทนตามเวลา (Time Base) ถ้าให้ดีให้มีการตรวจสภาพน้ำมันเครื่องด้วย
-     การเทียบราคาอะไหล่ อาจใช้อะไหล่เทียบเคียงได้ เพราะอะไหล่บางชิ้นส่วนอาจใช้ของเทียมแทนกันได้ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นพวกภายนอกเครื่องยนต์ หรือเกียร์
-     การทำอะไหล่ใช้เองแทนการจัดซื้อ เช่น การจ้างหล่อชิ้นงาน การกลึงชิ้นงาน แต่ต้องมีการว่าจ้างผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ ชำชาญในด้านนี้
-     การซ่อมอะไหล่แทนการเปลี่ยน เช่น การเชื่อมชิ้นงานอะไหล่ แต่ผู้ที่ทำการเชื่อมต้องมีความรู้เรื่องเทคโนโลยีการเชื่อมและโลหะวิทยา
-     การยืมอะไหล่จากโรงงานอื่นที่เป็นเครือข่ายเดียวกัน (Cluster)
-     การใช้อะไหล่จากเครื่องจักรว่าง (Standby) ของบริษัท
-     การปรับปรุงประสิทธิภาพการซ่อม เพื่อยึดอายุการใช้งานหลังซ่อม ลดการเสีย ชำรุดซ้ำซาก
-     การวิเคราะห์การชำรุด (Failure Analysis) เพื่อหาสาเหตุหลักของการเสียชำรุดที่รุนแรงทุกครั้ง
-     ใช้กลยุทธ์จ้างเหมาบริการซ่อม (Service Contract) หากพิจารณาว่าถูกกว่าในระยะยาว
-     การต่อรองราคาอะไหล่กับร้านค้าเจ้าประจำ
-     การให้ผู้ขายอะไหล่เอาสินค้ามาส่งที่โรงซ่อมและจะจ่ายเงินก็ต่อเมื่อบริษัทเบิกอะไหล่นั้นมาใช้งาน ทำให้ลดต้นทุนการจัดซื้ออะไหล่มากักตุนไว้
การที่องค์กรธุรกิจจะสามารถลดต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญดังต่อไปนี้
1)   จะต้องได้รับการกำกับ ดูแลอย่างใกล้ชิดให้เป็นไปตามแนวทางการลดต้นทุนอย่างเป็นระบบ จากผู้บริหารระดับสูงที่มีอำนาจตัดสินใจ เช่น กรรมการผู้จัดการ  ผู้จัดการส่วน วิศวกรประจำส่วน  และผู้จัดการแผนก
      2)   สภาพความเป็นอยู่และลักษณะนิสัยของพนักงาน จะต้องเปลี่ยนไปสู่การประหยัดและอดออม
      3)   การตอบสนองต่อสิ่งที่ลูกค้าต้องการอย่างดีและรวดเร็ว จะทำให้ยอดขายดีขึ้น และทำให้บริษัทอยู่รอดได้
- See more at: http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?bookID=1370&read=true&count=true#sthash.46hy3NxP.dpuf